วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560

ประเภทของคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก ทำให้ปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เลือกใช้มากมายหลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้ การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์นั้น สามารถจำแนกโดยพิจารณาจากความสามารถในการเก็บข้อมูล และความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก มี 6 ประเภท ดังนี้


1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)   
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด และเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด จึงมีราคาที่สูงมาก ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศการทดสอบทางอวกาศ และงานอื่น ๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน


2. เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรม นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้จำนวน มากในเวลาเดียวกันเช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียน ของนักศึกษา เป็นต้น


3. มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Mini Computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำ มินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น


4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด ส่งผลให้การพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะและรูปแบบ ที่แตกต่างกัน เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (desktop computer) คอมพิวเตอร์พกพา (portable computer)


5. แท็บเล็ต (Tablet)
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดเล็กและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม


6. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น




สรุปท้ายเรื่อง
ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมีให้เลือกใช้มากมายหลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทจากความสามารถในการเก็บข้อมูล และความเร็วในการประมวลผลได้หลายประเภท คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต (Tablet) และคอมพิวเตอร์แบบฝัง เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2560

ซอฟต์แวร์ Software.

          ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าซอฟต์แวร์ นั้นมันเป็นชุดคำสั่งที่จะทำการสั่งงานให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ทำงานตามคำสั่งที่เราต้องการ ยังรวมถึงการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล นอกจากนี้ยังทำการแปลงจากเลขฐานสองให้กลายเป็นข้อมูล ภาพ เสียง หรือตัวอังษรต่างๆ ที่เราเห็นหรือใช้งานอยู่นั่นเอง ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ
          -  ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
          -  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)



1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
          ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้การติดต่อประสานกันระหว่าง อุปกรณ์แต่ละชิ้น โปรแกรมแต่ละโปรแกรม ให้สามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหา System Software ที่รู้จักและเป็นที่นิยมกันมาก เช่น Windows, OSX, Linux เป็นต้น ซึ่งแบ่งลักษณะการทำงานได้ดังนี้ 
          - ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
          - ยูทิลิตี้ (Utility Program)
          - ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver)
          - ตัวแปลภาษา (Language Translator)



          ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบปฏิบัติการ (Operating System)

          ยูทิลิตี้ (Utility Program)
เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส, โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น, โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program, โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip - WinRAR) เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง,โปรแกรมการสำรองข้อมูล (Backup Data)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยูทิลิตี้ (Utility Program)

          ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver)
เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ ในส่วนการรับเข้าและการส่งออกของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวิดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวิดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลและส่งข้อมูลออกได้

          ตัวแปลภาษา (Language Translator)
คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น


2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
          ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

          ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven เป็นต้น

          ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่างๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น



สรุปท้ายเรื่อง
          คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ไม่สามารถทำงานได้โดยไม่มีคำสั่ง หรือ โปรแกรมที่เรียกว่าซอฟต์แวร์มีหน้าที่ควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ และช่วยให้การใช้เทคโนโลยีเกิดประสิทธิภาพได้อย่างสูงสุด
          ซอฟต์แวร์เบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในการทำงานใดๆ ผู้ใช้จะติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบหรือซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์
1. ซอฟต์แวร์ระบบ  เป็นโปรแกรมหรือคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์การสือสารข้อมูลและเครือข่าย และอุปกรณ์อื่นๆ ซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมประยุกต์และฮาร์ดแวร์ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Programs)
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์  เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่างๆ ตามที่ต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้านและซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป

ฮาร์ดแวร์ Hardware.

          ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ เมาส์ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ
          - หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
          - หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
          - หน่วยแสดงผล (Output Unit)
          - หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)


โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังนี้

1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
          หน่วยประมวลผลกลาง (CPU : Central Processing Unit) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูงตามไปด้วย ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย การเลือกซื้อจะต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการนำไปใช้ เช่นต้องการนำไปใช้งานกราฟฟิกส์ ที่มีการประมวลผลมาก จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องที่มีการประมวลผลได้เร็ว ส่วนการพิมพ์รายงานทั่วไปใช้เครื่องที่ความเร็ว 100 MHz ก็เพียงพอแล้ว

          ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 2 ส่วน คือ
          -  หน่วยควบคุม (CU : Control Unit)
          -  หน่วยควบคุมและตรรกะ (ALU : Arithmetic and Logic Unit)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน่วยประมวลผลกลาง

2. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
          หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ แป้นพิมพ์ สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่างๆ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติ๊ก สำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟนสำหรับอัดเสียง และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป



download (1)download (2)
download (3)

3. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
          หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ (Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น


download (4)download (5)

4. หน่วยความจำ (Memory Unit) 
          หน่วยความจำ (Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา ส่วนหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือ หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้ จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มี การเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น หน่วยความจำชั่วคราว ถือว่าเป็นหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ เรียกกันทั่วไปคือหน่วยความจำแรม ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SDRAM , RDRAM เป็นต้น

 
(RAM : Random Access Memory) 

  
(ROM : Read Only Memory)

5. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)
          หน่วยความจำสำรองคือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งหน่วยความจำสำรองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่มีนิยมใช้กันทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมท์ไดร์ฟ เป็นต้น



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)



สรุปท้ายเรื่อง
          ฮาร์ดแวร์คืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน คือ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยความจำ และหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน


วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560

About me'

WELCOME !
Abou Me '
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
Name : Sasina  Saeheng
Nickname : Ploy ; )
No : 5707510009
.
Brithday : 29.08.1996
Email : sasina.sae009@hu.ac.th
   -   All about diary me  -
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .